ผลการพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้น ๆ
สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยใช้แบบฝึกทักษะแบบวิเคราะห์งาน (Task analysis)
ภูมิหลัง
การเขียนเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจจากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึกความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จรับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disability) มีปัญหาทาง การเรียนรู้เฉพาะอย่าง โดยมีความบกพร่อง หรือปัญหาหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งอย่างในกระบวนการทางจิตวิทยาทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหาทาง การใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน โดยจะแสดงออกมาในลักษณะของการนำไปปฏิบัติทั้งนี้ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก การขาดแรงเสริม ด้วยโอกาสทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม หรือเป็นเพราะครูสอนไม่มี ประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ในการพิจารณาเรื่องปัญหาทางการเรียนรู้จึงต้องอาศัยลักษณะร่วมกันคือ เป็นผู้ที่มีระดับสติปัญญาปกติ หรือมีสติปัญญาอยู่ในช่วงเช่นเดียวกับเด็กปกติแต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะต่ำกว่าปกติ และจะต้องไม่มีความพิการหรือความบกพร่องในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สุขภาพอนามัย ระบบประสาทการสัมผัสและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมมีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมทั้งหมด 8 ประเภท มีนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เรียนร่วมจำนวน 42 คนและเรียนร่วมในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 คน พบว่านักเรียนจำนวน 3 คน มีปัญหาการเขียนเรื่องสั้น ๆ ส่งผลกระทบ ในการเขียน เช่น การเขียนเรียงความ การเขียนรายงาน
ผู้วิจัยจึงสนใจในการแก้ปัญหาโดยใช้แบบฝึกทักษะแบบวิเคราะห์งาน เพื่อพัฒนาการเขียนเรื่องสั้น ๆและมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นๆ สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยใช้แบบฝึกทักษะแบบวิเคราะห์งาน
ความสำคัญของการศึกษา
ผลของการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทาง และประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการสอนเขียนแบบวิเคราะห์งานแก่ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพการเรียนและมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนดีขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
คือ นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
การศึกษาในครั้งนี้ได้ดำเนินการทดลองใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้เวลาทดลองวันละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 เดือน (พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม 50 )
เนื้อหาที่ใช้ทดลอง
การเขียนคำ การเขียนประโยค การเขียนเรื่อง จากแบบฝึกทักษะแบบวิเคราะห์งาน
ตัวแปรที่ศึกษา
เครื่องมือทดลอง ได้แก่
1. แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบวิเคราะห์งาน
2. แบบฝึกทักษะการเขียนเรื่องสั้น ๆแบบวิเคราะห์งาน
เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1. แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
2. แบบบันทึกการเขียน
สรุปผลการศึกษา
พบว่า การใช้แบบฝึกทักษะแบบวิเคราะห์งานเพื่อพัฒนาการเขียนเรื่องสั้น ๆ ก่อนการทดลองนักเรียนทั้ง 3 คนมีความสามารถการเขียนเรื่องสั้น ๆ ได้คิดเป็นร้อยละ 45 และหลังการทดลองคิดเป็นร้อยละ 80 นักเรียนมีความก้าวหน้าพัฒนาการเขียนเรื่องสั้น ๆเพิ่มขึ้นและสูงกว่าตัวชี้วัด ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดว่านักเรียนสามารถเขียนเรื่องสั้น ๆ ได้ใจความร้อยละ 70
ข้อเสนอแนะ
1. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรพัฒนาการเขียนเรื่องสั้น ๆ ของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะแบบวิเคราะห์งานย่ในระดับชั้น ป. 4 ป. 5
2. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรพัฒนาเขียนเรียงความสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในระดับชั้นที่สูงขึ้น
Flow Chart
การสอนวิเคราะห์งาน (Task analysis)
การสอนวิเคราะห์งาน (Task analysis)
ผู้วิจัย : สุลีกาญ ธิแจ้ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน
E mail : suleekan@hotmail.com โทร.081 9982516
ที่ปรึกษา : ดร. เกตมณี มากมี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่