งานวิจัย : กลยุทธ์ 5อ 1ข 2ท

ความเป็นมา
โรงเรียนวัดช่างเคี่ยนเป็นโรงเรียนขยายโอกาสและจัดการเรียนร่วมโดยมีนักเรียนทั้งหมด 487 คน และมีนักเรียนที่มีความบกพร่องเรียนร่วมในโรงเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันมีนักเรียนเรียนร่วมในโรงเรียน จำนวน 8 ประเภท 124 คน ได้แก่
1) เด็กที่บกพร่องทางการเห็น จำนวน 9 คน 2)เด็กที่บกพร่องทางด้านสติปัญญา จำนวน 20 คน 3) เด็กที่บกพร่องทางด้านร่างกายและสุขภาพจำนวน 5 คน 4) เด็กที่บกพร่องทางด้านการพูดและภาษาจำนวน 2 คน 5) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวน 49 คน 6) เด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์จำนวน 14 คน 7) เด็กออทิสติกจำนวน 24 คน 8) เด็กพิการซ้อน 1 คน
เนื่องจากโรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมและได้รับโล่รางวัลโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นในระดับภูมิภาคประจำปีการศึกษา 2547 ได้รับโล่รางวัลเป็นโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลออทิสติกดีเด่นในระดับภูมิภาคประจำปีการศึกษา 2547 ต่อมาจึงเป็นแหล่งศึกษาดูงานเป็นต้นแบบการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT และเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชนหน่วยงานอื่นๆและบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการเรียนร่วมที่เข้าศึกษาดูงานทั่วประเทศอยู่เป็นประจำโดยเฉลี่ยสัปดาห์ 2 –3 คณะนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนโปรแกรมการศึกษาพิเศษ ของสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ วิทยาลัยพลศึกษาทุกปีการศึกษา โรงเรียนจึงได้ตระหนักถึงการจัดการเรียนร่วมให้มีคุณภาพสามารถเป็นแบบอย่างที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น จึงมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนร่วมโดยใช้กลยุทธ์ 5 อ 1 ข 2 ท และให้คำนิยามศัพท์ กลยุทธ์ 5 อ 1 ข 2 ท ไว้ดังนี้

- 5 อ หมายถึงการให้โอกาสเด็กพิการมีโอกาสในการเรียนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคมี การพัฒนาตามศักยภาพ ให้ความอบอุ่น ให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็กพิการและเด็กที่บกพร่องเสมือนบุคคลในครอบครัวโดย จัดสภาพแวดล้อมด้านบุคคลให้เอื้อต่อสภาพจิตใจเพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในการมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ให้ความอดทน ผู้บริหาร ครูและนักเรียนทั่วไปมีความอดทน อดกลั้น ต่อพฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่พึงประสงค์ ของเด็กที่บกพร่องและครูมีความอดทนรอคอยการพัฒนาเด็กที่บกพร่องให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้อภัยพร้อมที่จะให้อภัยต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยให้ความอ่อนโยนในการปรับพฤติกรรม ที่แฝงด้วยความเข้าใจ
- 1 ข หมายถึง เข้าใจธรรมชาติของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เข้าใจอย่างลึกซึ้งในพฤติกรรมที่แสดงออกและความต้องการ และเข้าใจเลือกใช้เทคนิคการสอนการวัดผลประเมินให้เหมาะสมเป็นรายเฉพาะบุคคล
- 2ท หมายถึง ทำด้วยความจริงใจ ทำอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่อง มีสิทธิโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนเขตบริการได้
2. เพื่อให้เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่องได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองและได้รับความอบอุ่นดูแลเอาใจใส่บุตรหลานของตนเองอย่างใกล้ชิดเมื่อได้เรียนใกล้บ้าน
3. เพื่อให้ความเสมอภาค เท่าเทียมในการศึกษาสามารถเรียนต่อในชั้นสูงได้
4. เพื่อให้เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่องได้พัฒนาตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดี
5. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของชุมชน ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจ โอบอ้อมอารี รู้จักช่วยเหลือเด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่อง
6. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของเด็กที่มีความบกพร่องเพื่อยอมรับศักยภาพการอยู่ร่วมกับสังคมปกติทั่วไปและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับบุคคลทั่วไปทางศึกษาและด้านอื่น ๆ

ผลดำเนินการ
1. เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่องในเขตบริการได้รับสิทธิโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนเรียนร่วม ร้อยละ 100
2. เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่องได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองและได้รับความอบอุ่นดูแลเอาใจใส่บุตรหลานของตนเองอย่างใกล้ชิดเมื่อได้เรียนใกล้บ้าน ร้อยละ 95
3. เพื่อให้ความเสมอภาค เท่าเทียมในการศึกษาสามารถเรียนต่อในชั้นสูงได้ ร้อยละ 100
4. เพื่อให้เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่องได้พัฒนาตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดี ร้อยละ 99
5. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของชุมชน ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจ โอบอ้อมอารี รู้จักช่วยเหลือเด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่อง ได้ร้อยละ 100
6. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของเด็กที่มีความบกพร่องเพื่อยอมรับศักยภาพการอยู่ร่วมกับสังคมปกติทั่วไปและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับบุคคลทั่วไปทางศึกษาและด้านอื่น ๆ ได้ร้อยละ 100
7. จากการใช้นวัตกรรมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์ที่ระบุไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ร้อยละ 100
8. ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน ร้อยละ 100
9. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนร้อยละ 100
10. นักเรียนมีความพึงพอใจ มีความสุขในการมาโรงเรียนและการเรียน ร้อยละ 95
11. ชุมชน ครู ผู้ปกครองนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนร่วมร้อยละ 100
12. ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ร้อยละ 100
13. ผู้บริหารครูผู้สอนนักเรียน ผู้ปกครองได้รับรางวัลด้านการจัดการศึกษาพิเศษจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามเกณฑ์ชี้วัดร้อยละ 100

14. โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของวงการศึกษาเป็นแหล่งศึกษาดูงานมีผู้ที่สนใจ เข้าศึกษาดูงานทุกสัปดาห์

15. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีความสามารถหลากหลาย จนเป็นที่ยอมรับของสังคมในด้านการอ่านทำนองเสนาะ ได้รับรางวัลที่ 1 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
- ด้านการพูด การเล่าเรื่อง ได้รับรางวัลที่ 2 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
- ด้านการสวดสรภัญญะ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท
- ด้านการเล่นดนตรี นายสุทธิพงษ์ อัศวภูมิ สามารถเล่นดนตรีสากลทุกชนิดเป็นที่ยอมรับของสังคม
- ด้านการแต่งเพลง นายสุทธิพงษ์ อัศวภูมิ สามารถแต่งเพลงที่เป็นผลงานของตนเอง ชุดรอวันปฏิหารย์ กำลังได้รับการตอบรับจากแฟนเพลง ตามคลื่นวิทยุต่างๆ ติดอันดับ 1 ใน 10 และได้จดลิขสิทธิ์ สงวนเรียบร้อยแล้ว
- ด้านการพูดในที่สาธารณชน นักเรียนที่บกพร่องทางการมองเห็น สามารถเป็นวิทยากรต้อนรับคณะศึกษาดูงาน เป็นที่ประทับใจของคณะศึกษา ดูงาน
16. นักเรียนออทิสติกมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ เข้าร่วมการแข่งขันการพูดภาษาอังกฤษ เข้าร่วมการแข่งขันการพูดได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขันทักษะทางวิชาก และเด็กชาทศพล แสนกอ ได้รับรางวัลเด็กออทิสติกดีเด่นจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ และนายปิยกานต์ ญาณใน มีความสามารถในการวาดภาพ สามารถจินตนาการได้ เป็นตัวแทนของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต1 ในงานมหกรรมศิลปะหัตกรรมนักเรียนภาคเหนือ ปี 2551 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (รางวัลยอดเยี่ยม)
17. นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ มีความสามารถใน การเล่นกีฬาฟุตบอลและกีฬาอื่นๆ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคที่กรุงเทพมหานคร ทุกปี ได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงของทุกปี
18. นักเรียนประเภทอื่นมีความสามารถในการเล่นดนตรี ดุริยางค์ สามารถบำบัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้
19. นักเรียนออทิสติกเรียนต่อชั้นสูงในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนนวมินทราชูทิศเชียงใหม่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเรียนต่อในโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ นักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาเรียนต่อในโรงเรียนสารพัดช่างเชียงใหม่ นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (LD) เรียนต่อในวิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงใหม่

ข้อพึงระวัง
ข้อพึงระวังในด้านการเรียนการสอน ในด้านเทคนิคการเสริมแรงทางบวก มีการประเมินรางวัลที่เด็กชอบ และการเสริมแรงทางลบควบดุมดูแลพฤติกรรม อารมณ์พื้นฐานของเด็กเป็นรายบุคคล

ข้อพึงระวังในด้านการบริหารจัดการ ควรมีการยืดหยุ่นกฎ กติกา ระเบียบวินัย ข้อบังคับของโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะเด็กออทิสติกและเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น